อาการ “ใจสั่น” อันตรายแค่ไหน

จริงๆ แล้ว “ใจสั่น” เป็นอาการที่พบได้บ่อยมากในคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยอย่างพวกเราที่อายุมากขึ้นแล้ว ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัย บางครั้งใจสั่นก็เป็นเรื่องปกติที่ไม่ต้องกังวล แต่บางครั้งมันอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า “หัวใจของเรากำลังมีปัญหา”

ใจสั่นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และไม่ใช่ว่าใจสั่นทุกครั้งจะเป็นเรื่องของโรคหัวใจเสมอไป บางครั้งแค่ดื่มกาแฟเข้มๆ หรือเครียดมากๆ ก็ทำให้ใจสั่นได้เหมือนกัน ที่สำคัญออยลี่มองว่าคุณผู้อ่านต้องรู้จักสังเกตว่าใจสั่นของตนเองว่าเป็นแบบไหน เพราะบางแบบอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจที่ร้ายแรงก็เป็นได้ เพราะเคยมีเพื่อนคนหนึ่งเล่าเหตุการณ์ให้ออยลี่ฟังว่าตนเองนั้นเคยมีความรู้สึกอาการใจสั่นบ่อยๆ และมองว่าเป็นแค่อาการของคนอายุที่มากขึ้นก็เลยปล่อยเลยตามเลย จนกระทั่งวันหนึ่งใจเขาสั่นแรงมากจนเหงื่อแตก เกิดอาการหายใจไม่อิ่มจนสุดท้ายต้องเข้าโรงพบาบาลถึงได้ทราบว่าเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ค่อนข้างรุนแรง โชคดีที่ไปทันเวลา ไม่งั้นอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้เลย

ใจสั่นแบบปกติ VS ใจสั่นที่ผิดปกติ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

อาการ “ใจสั่นแบบปกติ” มักเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่เข้าใจได้ เช่น หลังจากวิ่งขึ้นบันไดมาสามชั้น หรือตอนที่เราตกใจกับอะไรบางอย่าง อาการใจสั่นแบบนี้มักจะค่อยๆ หายไปเองภายในไม่กี่นาที พอเรานั่งพักสักครู่ หายใจเข้าออกลึกๆ หัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติ แต่ใจสั่นที่ผิดปกติจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไป มักจะเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน อาจจะกำลังนั่งพักผ่อนอยู่ดีๆ แล้วใจสั่นขึ้นมาเฉยๆ หรือรุนแรงและนานผิดปกติ บางครั้งอาจรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ เต้นเร็วมาก หรือเต้นช้ามากจนรู้สึกได้ ที่สำคัญ คือ…

“ใจสั่นแบบผิดปกติ” มักจะพ่วงมาพร้อมกับอาการอื่นๆ ด้วย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหงื่อแตกเย็น หน้ามืด หรือเป็นลมหมดสติ ถ้าใจสั่นแล้วมีอาการเหล่านี้แบบที่ออยลี่ยกตัวอย่างขึ้นมา นี่คือ สัญญาณที่กำลังบอกว่าคุณผู้อ่านอาจมีปัญหากับหัวใจจริงๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที แล้วอาการใจสั่นแบบผิดปกติจะหาสัญญาณเตือนจากร่างกายได้อย่างไร?

  1. ใจสั่นแล้วเจ็บหน้าอก

โดยเฉพาะถ้าเป็นอาการเจ็บแบบแน่นๆ บีบรัดๆ ที่หน้าอก อาจร้าวไปที่แขนซ้าย คอ หรือขากรรไกร อาการแบบนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ อย่าชักช้า รีบโทรเรียกรถพยาบาลหรือให้ญาติพาไปโรงพยาบาลโดยด่วน

  1. หายใจลำบากหรือหายใจไม่อิ่ม 

คุณผู้อ่าจะมีความรู้สึกเหมือนอากาศไม่พอหายใจ ต้องหอบเหนื่อยแม้ไม่ได้ทำอะไรหนัก นี่อาจเป็นเพราะหัวใจทำงานผิดปกติ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ทำให้ปอดต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อชดเชยออกซิเจนที่ขาดไป

  1. หน้ามืดหรือเป็นลม

ถ้าใจสั่นแล้วรู้สึกหน้ามืด ตาลาย เดินเซ หรือถึงขั้นหมดสติ แสดงว่าสมองไม่ได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่อันตรายมาก อาจเกิดจากหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ตามปกติ

  1. เหงื่อแตกเย็นหรือตัวเย็น

โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นพร้อมกับใจสั่นและอาการอื่นๆ นี่เป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังอยู่ในภาวะช็อก ระบบไหลเวียนเลือดทำงานผิดปกติ ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

  1. ใจสั่นนานเกิน 5 นาทีหรือเกิดขึ้นบ่อยมาก 

ถ้าคุณผู้อ่านใจสั่นแล้วไม่หายเป็นเวลานาน หรือเกิดขึ้นหลายครั้งต่อวันโดยไม่มีสาเหตุ ออยลี่มองว่านี่อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ต้องได้รับการรักษา

  1. ใจสั่นแบบรู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ

บางทีเต้นเร็ว บางทีเต้นช้า หรือรู้สึกเหมือนหัวใจหยุดเต้นไปบ้าง นี่อาจเป็นภาวะ Atrial Fibrillation หรือหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

และอย่างสุดท้าย…

  1. ถ้าใจสั่นแล้วมีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น คลื่นไส้อาเจียน มึนงง พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง นี่อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองที่อาจเกิดจากลิ่มเลือดจากหัวใจที่เต้นผิดจังหวะ

ออยลี่อยากเน้นย้ำว่า…ถ้ามีอาการเหล่านี้แม้แต่ข้อเดียว คุณผู้อ่าต้องอย่ารีรอ อย่ารอช้า อย่าคิดว่าพักแล้วจะหาย เวลา คือ ชีวิต เมื่อเกิดปัญหากับหัวใจ ยิ่งได้รับการรักษาเร็วเท่าไหร่ โอกาสรอดและฟื้นตัวได้ดีก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

ใจสั่นแบบไหนที่บอกว่าเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

มาถึงตรงนี้…ออยลี่มองว่าหลายคนคงอยากรู้แล้วว่า  “ใจสั่น” แบบไหนกัน ที่บ่งบอกว่าเรากำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ออยลี่จะมาอธิบายให้อย่างละเอียด เพื่อที่คุณผู้อ่านวัยทองทุกท่านจะได้สังเกตตัวเองและคนที่เรารักได้

“ใจสั่น” ที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจมักจะมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากใจสั่นทั่วไป

  • ใจสั่นที่เกิดขึ้นขณะพักผ่อน ไม่ได้ออกแรงหรือตื่นเต้นอะไร แต่หัวใจกลับเต้นแรงหรือเต้นเร็วผิดปกติ นี่เป็นสัญญาณที่น่ากังวล เพราะแสดงว่าระบบการควบคุมการเต้นของหัวใจอาจมีปัญหา
  • ใจสั่นที่มาพร้อมกับความดันโลหิตผิดปกติ ถ้าใจสั่นแล้ววัดความดันพบว่าสูงหรือต่ำผิดปกติมาก นี่อาจบ่งบอกถึงปัญหาของหลอดเลือดหัวใจหรือลิ้นหัวใจ โดยเฉพาะในวัยทองที่หลอดเลือดเริ่มแข็งตัวและมีการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือด
  • ใจสั่นที่เกิดขึ้นหลังจากทานอาหารมื้อหนักหรือดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ควรระวัง เพราะการทานอาหารมากเกินไปหรือดื่มสุรามากเกินไปจนทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ถ้าหัวใจมีปัญหาอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ง่าย
  • ใจสั่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ เดินไม่ไกลก็เหนื่อย ขึ้นบันไดชั้นเดียวก็หอบ นี่อาจเป็นสัญญาณว่าหัวใจเริ่มอ่อนแรง ไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใจสั่นในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ก็ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ถ้าพ่อแม่ พี่น้อง เคยเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะถ้าเป็นตั้งแต่อายุยังไม่มาก เราก็มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นเมื่อมีอาการใจสั่น ควรไปตรวจเช็คให้แน่ใจ
  • ใจสั่นที่เกิดในช่วงกลางคืนจนทำให้ตื่นจากหลับ ก็เป็นอีกลักษณะที่ควรสนใจ บางคนอาจตื่นมาด้วยอาการใจสั่น หายใจไม่อิ่ม ต้องลุกขึ้นมานั่งหรือเปิดหน้าต่างหาอากาศหายใจ นี่อาจเป็นสัญญาณของภาวะหัวใจล้มเหลว และ
  • ใจสั่นในคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ กลุ่มนี้เมื่อมีอาการใจสั่น ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจจะสูงกว่าคนปกติมาก ต้องระวังและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

โรคหัวใจแบบไหน? มีอาการใจสั่นเป็นสัญญาณเตือน

เมื่อคุณผู้อ่านรู้แล้วว่าใจสั่นแบบไหนที่น่ากังวล คราวนี้ออยลี่พามาดูกันว่ามีโรคหัวใจอะไรบ้างที่มักจะมีอาการใจสั่นเป็นสัญญาณเตือน เพราะการรู้จักโรคเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจและระมัดระวังตัวได้ดีขึ้น เริ่มจาก

  1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน 

เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในวัยทองผู้สูงอายุ โรคนี้เกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อยลง เมื่อหัวใจขาดเลือด ก็จะส่งสัญญาณออกมาเป็นอาการใจสั่น โดยเฉพาะเวลาออกแรงหรือเครียด

  1. โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคนี้มีหลายแบบ แต่ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ คือ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่น ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ บางครั้งเร็ว บางครั้งช้า เหมือนนักกลองที่ตีกลองไม่เป็นจังหวะ โรคนี้นอกจากจะทำให้ใจสั่นแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

  1. โรคลิ้นหัวใจผิดปกติก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการใจสั่น

โดยเฉพาะลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจทำงานไม่ปกติ เลือดจะไหลย้อนกลับหรือไหลผ่านได้ยาก ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่น เหนื่อยง่าย และอาจมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจอ่อนแรง เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยมักจะมีอาการใจสั่น โดยเฉพาะตอนกลางคืนหรือเวลานอนราบ อาจต้องหนุนหมอนสูงหรือนั่งหลับ เพราะนอนราบแล้วหายใจไม่อิ่ม

  1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง ก็มักมีอาการใจสั่นเป็นอาการนำ ร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย มีไข้ต่ำๆ และเจ็บหน้าอก

ที่น่าสนใจ คือ บางครั้งใจสั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติจากหัวใจห้องล่าง ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมาก อาจทำให้เสียชีวิตกะทันหันได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกใจสั่นแรงมาก อาจมีอาการหน้ามืด เป็นลม หรือหมดสติได้ นอกจากนี้ ยังมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่อาจไม่แสดงอาการมาก่อน จนกระทั่งอายุมากขึ้น ร่างกายเริ่มเสื่อมถอย จึงเริ่มมีอาการใจสั่นและอาการอื่นๆ ตามมา ออลี่อยากให้เพื่อนๆ เข้าใจว่า ใจสั่นเป็นเหมือนสัญญาณเตือนที่หัวใจส่งมาบอกเรา ว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้น การรู้จักโรคหัวใจเหล่านี้จะช่วยให้เราไม่ประมาท

สังเกต…บันทึกอาการใจสั่นอย่างถูกต้อง

ออยลี่เชื่อว่าการที่เราจะบอกหมอได้อย่างชัดเจนว่าใจสั่นของเราเป็นอย่างไรนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญมากในการวินิจฉัยโรค แน่นอนว่าออยยลี่ก็มีมาแนะนำวิธีสังเกตและบันทึกอาการใจสั่นที่หมอหัวใจแนะนำ เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างตรงจุดและรวดเร็ว

  1. เมื่อรู้สึกใจสั่น 

ออยลี่แนะนำว่าให้หยุดทำกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ แล้วนั่งพักในท่าที่สบาย จากนั้นให้จับชีพจรที่ข้อมือด้วยนิ้วชี้และนิ้วกลาง อย่าใช้นิ้วโป้งเพราะนิ้วโป้งมีชีพจรของตัวเอง อาจทำให้นับผิดพลาดได้ วิธีนับชีพจรที่ถูกต้องคือ นับจำนวนครั้งที่เต้นใน 15 วินาที แล้วคูณด้วย 4 จะได้อัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที ปกติหัวใจควรเต้น 60 – 100 ครั้งต่อนาที ถ้ามากกว่า 100 แสดงว่าเต้นเร็ว ถ้าน้อยกว่า 60 แสดงว่าเต้นช้า 

นอกจากนับจำนวนแล้วให้สังเกตจังหวะการเต้นด้วยว่าเต้นสม่ำเสมอหรือไม่ เต้นเป็นจังหวะคงที่ หรือเต้นๆ หยุดๆ เต้นเร็วบ้างช้าบ้าง ลองฟังเสียงนาฬิกาแล้วเปรียบเทียบ ถ้าหัวใจเต้นสม่ำเสมอ ก็จะเหมือนเสียงนาฬิกา แต่ถ้าไม่สม่ำเสมอ จะรู้สึกได้ทันที

  1. จดจำและบันทึกรายละเอียดของอาการใจสั่น 

ออยลี่อยากให้คุณผู้อ่านเตรียมสมุดโน้ตเล็กๆ หรือใช้โทรศัพท์มือถือบันทึกก็ได้ โดยบันทึกวันที่ เวลาที่เกิดอาการ เช่น กำลังทำอะไรอยู่ก่อนใจสั่น ใจสั่นนานแค่ไหน และมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่

  1. สังเกตว่าทำอะไรแล้วกระตุ้นให้เกิดใจสั่น 

เช่น ดื่มกาแฟกี่แก้วต่อวัน ดื่มเหล้าหรือเบียร์หรือไม่ นอนดึกหรือนอนไม่พอ เครียดเรื่องอะไร ทานยาอะไรอยู่บ้าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงยาหรือไม่

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการติดตามการเต้นของหัวใจได้สะดวกขึ้น เช่น สมาร์ทวอทช์หลายรุ่นสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้ บางรุ่นยังสามารถบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบง่ายๆ ได้ด้วย ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์มากเวลาไปพบแพทย์

  1. การถ่ายวิดีโอตัวเองขณะมีอาการ

ออยลี่มองว่เป็นอีกวิธีที่ดี ถ้ามีสติและสามารถทำได้ บางครั้งสีหน้า การหายใจ หรืออาการอื่นๆ ที่เราอาจไม่ได้สังเกต ในส่วนนี้คุณหมอสามารถดูจากวิดีโอแล้วช่วยในการวินิจฉัยได้ สิ่งที่ไม่ควรทำคือ อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป เพราะความเครียดและความกังวลจะทำให้ใจสั่นมากขึ้น พยายามทำใจให้สงบ หายใจลึกๆ ช้าๆ และบันทึกอาการตามที่เกิดขึ้นจริง ไม่ต้องเพิ่มเติมหรือคาดเดา

ซึ่งหากจากการบันทึก ร่วมจากการวินิจฉัยของคุณหมอและเราเข้าข่ายที่อาจจะเป็นโรคหัวใจ การตรวจแรกที่แพทย์จะทำเสมอ คือ การซักประวัติและตรวจร่างกาย แพทย์จะถามรายละเอียดเกี่ยวกับอาการใจสั่น ประวัติการเจ็บป่วย ยาที่ทานอยู่ และประวัติครอบครัว จากนั้นจะฟังเสียงหัวใจ วัดความดันโลหิต และตรวจชีพจร การบันทึกจาก 4 ข้อด้านบนจึงสำคัญมากๆ หลังจากนั้น อาจจะต้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อบันทึกการทำงานของไฟฟ้าในหัวใจ ช่วยดูว่าหัวใจเต้นเป็นจังหวะหรือไม่ มีความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหรือเปล่านั้นเอง

แต่บางครั้ง….อาการใจสั่นไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา การตรวจคลื่นหัวใจครั้งเดียวอาจจับความผิดปกติไม่ได้ แพทย์จึงอาจให้ใส่เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา ติดตัวไป 24 – 48 ชั่วโมง เครื่องนี้จะบันทึกการเต้นของหัวใจตลอดเวลา ทั้งช่วงที่เรานอนหลับด้วย แต่ถ้าอาการใจสั่นเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ Event Monitor เครื่องบันทึกที่สามารถกดปุ่มบันทึกเมื่อรู้สึกมีอาการ สามารถพกติดตัวได้นานหลายสัปดาห์ เหมาะสำหรับจับอาการที่เกิดขึ้นไม่บ่อย นอกจากนี้ก็ยังมีการตรวจด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณา

ใจสั่นที่ “หัวใจ” ป้องกันไว้เพราะมีแค่ดวงเดียว

สำหรับคุณผู้อ่านที่มีอาการใจสั่นบ่อย แม้ว่าจะได้รับการรักษาจากแพทย์แล้ว แต่การดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน และการดูแลด้วยการปรับวิถีที่ออยลี่กำลังจะแนะนำอยู่นี้ ไม่ใช่แค่ผู้ที่มีอาการเท่านั้นที่ทำได้ คุณผู้อ่านที่ยังไม่มีอาการก็สามารถทำได้เช่นกัน 

เพราะทำแล้วดีต่อร่างกายแน่นอนค่ะ เริ่มจาก…

  1. จัดการความเครียด 

ความเครียดของวัยทอง 06:04/68 เป็นตัวกระตุ้นสำคัญของอาการใจสั่นและสร้างการอักเสบให้กับร่างกาย ออยลี่แนะนำว่าให้ทุกคนหาวิธีผ่อนคลายที่เหมาะกับตัวเอง อาจจะเป็นการนั่งสมาธิ ฝึกหายใจลึกๆ ฟังเพลงเบาๆ หรือทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ วาดรูป หรือแม้กระทั่งเล่นกับหลานก็สามารถทำได้ การหัวเราะและอารมณ์ดี จะช่วยลดความเครียดได้มาก

  1. นอนหลับให้เพียงพอและมีคุณภาพ

เป็นเรื่องสำคัญมากนะคะสำหรับการนอนหลับให้ได้ลึกและมีคุณภาพ โดยควรนอนวันละ 7 – 8 ชั่วโมง แนะนำว่าพยายามเข้านอนและตื่นในเวลาเดียวกันทุกวัน พร้อมกับหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟหรือชาในช่วงบ่ายและเย็นเพราะอาจกระตุ้นร่างกายให้ตื่นตัว 

  1. อาหารการกินต้องใส่ใจเป็นพิเศษ 

วัยทองควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช และโปรตีนไม่ติดมัน ลดและงดอาหารเค็ม หวาน มัน อาหารทอด และอาหารแปรรูป พยายามทานแบ่งทานอาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ แต่ทานบ่อยๆ ดีกว่าทานมื้อใหญ่ เพราะการทานอาหารมากเกินไปในมื้อเดียวอาจกระตุ้นให้เกิดใจสั่นได้

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

แนะนำว่าให้ทุกท่านดื่มน้ำวันละ 8 – 10 แก้ว จะช่วยให้ร่างกายทำงานได้ดี โดยเฉพาะระบบไหลเวียนเลือด แต่ระวังอย่าดื่มมากเกินไปในคราวเดียว ควรจิบน้ำทีละน้อยตลอดวัน

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายสามารถช่วยบริหารหัวใจให้แข็งแรง แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกาย อาจจะเริ่มต้นจากการออกกำลังกายง่ายๆ ด้วยการเดินเร็ว วันละ 30 นาที สิ่งสำคัญ คือ ต้องค่อยๆ เริ่ม อย่าหักโหมจนเกินไป และถ้ารู้สึกใจสั่นขณะออกกำลังกาย ให้หยุดพักทันที

  1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ใจสั่น 

แต่ละคนอาจมีตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการใจสั่นแตกต่างกัน บางคนแพ้กาแฟ บางคนแพ้แอลกอฮอล์ บางคนใจสั่นเมื่อทานอาหารรสจัด หรือแม้แต่การอาบน้ำร้อนจัด ให้สังเกตและจดบันทึกว่าอะไรทำให้เราใจสั่น แล้วพยายามหลีกเลี่ยง

  1. ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

ไม่ควรหยุดใช้ยาเอง แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้ว และถ้ามีผลข้างเคียงจากยาให้ปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยา ห้ามซื้อยามาทานเอง โดยเฉพาะยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ หรือสมุนไพรบางชนิด ที่อาจมีผลต่อการเต้นของหัวใจ

  1. อุปกรณ์ติดตามอาการ

แนะนำให้มีอุปกรณ์วัดความดันโลหิตและเครื่องวัดชีพจรติดไว้ที่บ้าน สิ่งนี้จะช่วยให้ติดตามอาการได้ดี วัดและบันทึกเป็นประจำ โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกไม่สบาย ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์มากเวลาไปพบแพทย์

นอกจากการป้องกันตัวที่ออยลี่แนะนำทุกคนไปแล้ว การควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นและอาจนำไปสู่โรคหัวใจ ตลอดจนโรคอื่นๆ ก็อยากให้ทุกคนได้ทำเช่นกัน เริ่มต้นด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ คือ …

  1. ความดันโลหิตสูง

ฆาตกรเงียบที่ทำลายหลอดเลือดและหัวใจอย่างช้าๆ แนะนำให้วัยทองควรวัดความดันเป็นประจำ พยายามให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 140/90 mmHg ถ้าหากมีระดับที่สูงกว่านี้ต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

  1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันโดยเฉพาะวัยทองหรือผู้ที่เป็นเบาหวาน 12:05/68 เพราะน้ำตาลสูงจะทำลายหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจด้วย ควรตรวจระดับน้ำตาลเป็นประจำ ควบคุมอาหาร และทานยาตามแพทย์สั่ง

  1. ไขมันในเลือดสูง

ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ไม่อยากให้วัยทองทุกท่านต้องปล่อยปะละเลย โดยเฉพาะคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ที่จะไปสะสมในผนังหลอดเลือดของร่างกาย ส่งผลทำให้หลอดเลือดตีบแคบ ควรตรวจไขมันในเลือดปีละครั้ง และปรับอาหารการกินให้เหมาะสม

  1. เลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่ต้องทำทันที 

เพราะบุหรี่ทำลายผนังหลอดเลือด เพิ่มการแข็งตัวของเลือด และทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น วัยทองที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจสูงกว่าคนไม่สูบถึง 2 – 4 เท่า แต่ข่าวดี คือ เมื่อเลิกสูบได้ ความเสี่ยงจะค่อยๆ ลดลงมา

  1. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม 

โดยเฉพาะไขมันหน้าท้อง เพราะความอ้วนลงพุงเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง 

  1. ตรวจสุขภาพประจำปี 

นอกจากจะเป็นการเมนเมนสุขภาพให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว ก็เพื่อค้นหาความผิดปกติตั้งแต่เริ่มต้น โดยเฉพาะผู้ที่อายุเกิน 40 ปี หรือมีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเลือด และอาจต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติมตามความเสี่ยง

  1. รักษาสุขภาพช่องปากให้ดี 

ข้อนี้อาจจะฟังดูแล้วไม่ค่อยที่จะไม่เกี่ยวข้องกันเท่าไหร่ แต่เชื่อไหมว่าการอักเสบในช่องปากสามารถแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย รวมทั้งหัวใจด้วย 

สุดท้าย…การเพิ่มคุ้มกันให้กับร่างกายจากการดูแลสุขภาพด้วยการป้อนอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของเราจะช่วยทำให้ร่างกายได้รับการดูแลตลอดเวลา เพราะโภชนาการที่มีคุณภาพดีต่อสุขภาพร่างกายของเรานั่น เหมือนกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมตัวที่ออยลี่กำลังจะแนะนำให้คุณผู้อ่านกัน เพราะนอกจากจะช่วยบรรเทาและลดอาการวัยทองที่เกิดขึ้น เช่น อาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน เหงื่อออกตามมือ ยังช่วยบำรุงร่างกายเสริมสุขภาพให้ดีอยู่ตลอดเวลาด้วยค่ะ

และเมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพวัยทอง ออยลี่อยากแนะนำผลิตภัณฑ์สองตัวที่น่าสนใจ คือ ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) สำหรับผู้หญิงวัยทอง และ ดีเน่ แอนโดรพลัส (DNAe Androplus) สำหรับผู้ชายวัยทอง ซึ่งทั้งสองตัวนี้มีส่วนผสมที่อาจช่วยสนับสนุนสุขภาพของเราในวัยทองได้เป็นอย่างดี

ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus)

สำหรับเพื่อนๆ ผู้หญิงวัยทอง ดีเน่ ฟลาโวพลัส นี้มาในรูปแคปซูลในขวดละ 30 แคปซูล แต่ละแคปซูลมีสารสกัดหลากหลายชนิดที่น่าสนใจมาก สิ่งที่ออยลี่ชอบมากๆ คือ 

  • สารสกัดจากถั่วเหลืองที่นำเข้าจากประเทศสเปน ถั่วเหลืองเป็นแหล่งของสารไอโซฟลาโวนที่ดีมาก ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่ช่วยสนับสนุนสุขภาพของผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน รวมถึงอาจช่วยเรื่องสุขภาพหัวใจด้วย
  • สารสกัดจากตังกุย ตังกุยเป็นที่รู้จักในเรื่องของการบำรุงโลหิต ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย และอาจช่วยในเรื่องการไหลเวียนเลือดด้วย ซึ่งอาจช่วยลดอาการใจสั่นได้ การมีระบบไหลเวียนเลือดที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
  • สารสกัดจากแปะก๊วย เป็นที่รู้จักในเรื่องของการช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังสมอง และอาจช่วยเสริมสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ 
  • สารสกัดจากงาดำ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด การดูแลหลอดเลือดให้สะอาดและไม่ให้มีการสะสมของไขมันเป็นสิ่งสำคัญมาก
  • ออร์แกนิค แครนเบอร์รี่ ก็เป็นส่วนผสมที่ดีสำหรับผู้หญิงวัยทอง แครนเบอร์รี่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยในเรื่องของระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้หญิงวัยทอง

และสุดท้ายคือ

  • อินูลิน พรีไบโอติก เส้นใยอาหารที่ช่วยเลี้ยงแบคทีเรียดีในลำไส้ การมีระบบย่อยอาหารที่ดีก็เชื่อมโยงกับสุขภาพโดยรวมของร่างกาย รวมถึงสุขภาพหัวใจด้วย

*ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ดีเน่ แอนโดรพลัส (DNAe Androplus)

สำหรับผู้ชายวัยทองก็มีด้วยเช่นกันกับ ดีเน่ แอนโดรพลัส และส่วนผสมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ในขวดละ 30 แคปซูล และแต่ละแคปซูลบรรจุสารสกัด 7 ชนิด เริ่มด้วยสารสกัดจาก

  • โสมเกาหลี เป็นที่รู้จักในเรื่องของการเพิ่มพลังงาน ช่วยเสริมสมรรถภาพร่างกาย และอาจช่วยในเรื่องของการทำงานของหัวใจ ซึ่งสำคัญมากสำหรับผู้ชายวัยทอง
  • สารสกัดจากฟีนูกรีก ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนผสมที่ออยลี่มองว่าน่าสนใจ ฟีนูกรีกเป็นเมล็ดพืชที่มีสารอาหารหลากหลาย ช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำตาลในเลือด ซึ่งเชื่อมโยงกับโรคเบาหวานเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • แอล อาร์จีนีน กรดอะมิโนที่สำคัญมาก ร่างกายใช้สารนี้ในการผลิตไนตริกออกไซด์ ซึ่งช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวได้ดี ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับสุขภาพหัวใจ การไหลเวียนเลือดที่ดี จะช่วยป้องกันปัญหาใจสั่น
  • สารสกัดกระชายดำ เป็นที่รู้จักในเรื่องของการเสริมสมรรถภาพทางเพศ และช่วยในเรื่องของการไหลเวียนเลือด
  • ซิงค์ อะมิโน แอซิด คีเลท เป็นธาตุซิงค์ในรูปที่ร่างกายดูดซึมได้ดี ซิงค์เป็นธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยในเรื่องของการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
  • สารสกัดจากแปะก๊วย มีประโยชน์เหมือนกับในผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงวัยทอง ช่วยเรื่องการไหลเวียนเลือด และอาจช่วยเสริมสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ และ
  • สารสกัดจากงาดำ ให้ประโยชน์ในเรื่องของสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยสนับสนุนสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด

*ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

จะเห็นได้ว่าการป้องกันและการดูแลสุขภาพหัวใจแบบองค์รวมนั้นสำคัญมาก ไม่ใช่แค่รอให้มีอาการแล้วค่อยไปรักษา แต่เราควรเริ่มดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ และแน่นอนว่าผลิตภัณฑ์ทั้งสองตัวที่ออยลี่แนะนำวันนี้ ก็มีส่วนผสมที่อาจช่วยสนับสนุนสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะในเรื่องของการไหลเวียนเลือด การต้านอนุมูลอิสระ และการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อสุขภาพหัวใจ และคุณผู้อ่านก็ทานกันได้ง่ายๆ เพียงวันละ 1 แคปซูลพร้อมมื้ออาหารที่สะดวกเท่านั้นเอง

ท้ายที่สุดแล้ว…การมีสุขภาพที่ดีในวัยทอง คือ ของขวัญที่ดีที่สุดที่เราสามารถมอบให้กับตัวเองและคนที่เรารัก เราต้องใส่ใจดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง และไม่ลืมที่จะไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอนะคะ

ก่อนจากกันไป…ออยลี่ขอมาสรุปและตอบคำถามที่วัยทองมักจะสงสัยเกี่ยวกับอาการใจสั่นและโรคหัวใจ ซึ่งเป็นคำถามที่ได้รับบ่อยๆ กันเนอะ

คำถามคำตอบ
คำถามใจสั่นทุกครั้งเป็นโรคหัวใจหรือไม่? ใจสั่นเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากความเครียด วิตกกังวล ดื่มกาแฟมากเกินไป ขาดน้ำ มีไข้ โรคไทรอยด์ หรือผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
    แต่ถ้าใจสั่นบ่อยและนานผิดปกติ รวมถึงมีอาการอื่นร่วมด้วย ควรไปตรวจเพื่อให้แน่ใจ
คำถามอายุเท่าไหร่ถึงจะเริ่มเสี่ยงต่อโรคหัวใจ?ผู้ชายเริ่มมีความเสี่ยงสูงขึ้นตั้งแต่อายุ 45 ปี ส่วนผู้หญิงจะเริ่มเสี่ยงมากขึ้นหลังวัยหมดประจำเดือน คืออายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป        แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย อาจเกิดเร็วกว่านี้ได้
คำถามกาแฟทำให้ใจสั่น?จริง คาเฟอีนในกาแฟสามารถกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและอาจทำให้รู้สึกใจสั่นได้          แนะนำให้ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 2 – 3 แก้ว และถ้าว่าดื่มแล้วใจสั่นทุกครั้ง ควรหลีกเลี่ยง
คำถามใจสั่นตอนนอนอันตรายไหม? ใจสั่นตอนนอนอาจเป็นสัญญาณที่ต้องระวัง โดยเฉพาะถ้าเกิดขึ้นบ่อยหรือทำให้ตื่นจากการนอน อาจเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือปัญหาหัวใจอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
คำถามออกกำลังกายแล้วใจสั่นเป็นเรื่องปกติไหม? หัวใจเต้นเร็วขึ้นขณะออกกำลังกายเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ารู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นแรงมากผิดปกติ หรือมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เวียนหัวร่วมด้วย ไม่ปกติครับ ควรหยุดออกกำลังกายทันทีและพบแพทย์
คำถามโรคหัวใจถ่ายทอดทางพันธุกรรม?มีส่วน ถ้ามีคนในครอบครัวสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง เป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะถ้าเป็นตั้งแต่อายุน้อย จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป            แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นแน่นอน การดูแลสุขภาพที่ดีสามารถลดความเสี่ยงได้มาก
คำถามสมุนไพรช่วยรักษาโรคหัวใจได้จริงหรือไม่?สมุนไพรบางชนิดอาจมีประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพหัวใจ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรเสมอ
คำถามตรวจหัวใจควรทำบ่อยแค่ไหน?สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการและไม่มีปัจจัยเสี่ยง ควรตรวจสุขภาพประจำปีทั่วไป              แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงหรือมีอาการผิดปกติ แพทย์อาจนัดตรวจถี่ขึ้น เช่น ทุก 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับความจำเป็น

สรุป

อาการใจสั่นแบบไหนที่ไม่ควรมองข้ามมี ใจสั่นที่เกิดขึ้นขณะพักผ่อนโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ใจสั่นที่มาพร้อมกับอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหงื่อแตกเย็น หน้ามืดหรือเป็นลม ใจสั่นที่เกิดขึ้นบ่อยมากหรือนานเกิน 5 นาที ใจสั่นแบบรู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และใจสั่นในผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาการเหล่านี้มักเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม

สิ่งสำคัญที่สุด คือ อย่าอายหรือกลัวที่จะไปพบแพทย์ หลายคนชอบคิดว่า “ไม่เป็นไร พักแล้วหาย” หรือ “ไม่อยากไปรบกวนหมอ” แต่เชื่อออยลี่เถอะ แพทย์ยินดีที่จะตรวจและให้คำแนะนำ แม้ว่าสุดท้ายจะพบว่าไม่มีอะไรร้ายแรงก็ตาม

แต่ถ้า “ใจ” มองหาสุขภาพในการดูแล

ให้คุณมองหา “ดีเน่ DNAe” ในการบรรเทา …